วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมุนไพรพลูคาว


สมุนไพรพลูคาว


       "โดคุดามิ" หรือ "พลูคาว" นอกจากใช้ได้ดีในผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้ว ยังพบว่าสามารถใช้ได้ผลในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพาต รักษาแผลเรื้อรังซึ่งสามารถใช้ทาแผลได้ และผลในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคร้ายต่างๆ จะช่วยในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งผลการทดลองในห้องปฎิบัติการพบว่าสามารถทำลายเชื้อ HIV-1(โรคเอดส์) เชื้อรา และแบคทีเรียหลายชนิดอีกด้วย 

         สำหรับในตำราไทยโบราณ ใช้ใบพลูคาวแก้กามโรค หนองใน เข้าข้อออกดอก เป็นแผลเปื่อยพุพอง ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษแมลงป่อง พอกฝี ซึ่งชาวเหนือเชื่อว่าใบขับพยาธิได้ ส่วนในตำรายาจีน พลูคาวทั้งต้นมีสรรพคุณขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ ระงับเชื้อโรคหลายชนิด รวมทั้งยังมีรายงานระบุถึงการใช้พลูคาวในการรักษาโรคเอดส์ โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ ตลอดจนใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อไวรัสเริม ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น 


        พลูคาว.มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Houttuynia cordata Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ (family) Saururaceae เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกอายุหลายปี พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่แถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม รวมทั้งไทยและญี่ปุ่น พลูคาวจะเป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันดีของทางภาคเหนือของไทย ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า  ผักคาวตอง (เชียงใหม่), ผักก้านตอง, ผักเข้าตอง, พลูแก, พลูคาว (กลาง), ผักคาวทอง (อุดรธาน-อีสาน), อื้อซิงเฉ่า (จีนกลาง), หื่อแชเช่า (จีนแต้จิ๋ว) มักขึ้นเองตามธรรมชาติ พบตามริมห้วย ลำธาร และที่ชื้นแฉะริมน้ำ หรือตามใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีความชื้นสูง มีมากทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกันกับพลู ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นรูปหัวใจ แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่ใต้ใบจะมีสีแดงตั้งแต่อ่อนๆ ไปจนถึงแดงเข้ม เมื่อนำมาใส่มือขยี้เพียงเบาๆ จะได้กลิ่นฉุนคล้ายคาวปลาออกมาอย่างรุนแรง ส่วนลำต้นทอดไปตามดิน รากแตกตามข้อ ชาวบ้านภาคเหนือและภาคอีสานนิยมรับประทานพลูคาวเป็นผักสด โดยแกล้มกับน้ำพริก ลาบหมู ลาบเนื้อ ก้อย ช่วยดับกลิ่นคาว สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยได้สูงขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในรักษาได้มากขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีรังสีรักษา ส่งผลให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและยืดอายุของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามได้นานขึ้น


        เมื่อนำมาตรวจดูผลทางเภสัชวิทยา (จากทดลองในห้องปฏิบัติการ) พบว่า พลูคาวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์, มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เนื่องจากมีสารเควซิติน (Quercetin) ซึ่งมีผลขยายหลอดเลือดฝอย ทำให้การไหลเวียนของเลือดและปัสสาวะเพิ่มขึ้น และมีฤทธิ์อื่น ๆ ได้แก่ ระงับปวด ห้ามเลือด เร่งการเจริญของเซลล์ ควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย มีผลระงับอาการไอ แต่ไม่มีฤทธิ์ขับเสมหะ และระงับอาการหอบ


         นอกจากนั้น ยังมีรายงานวิจัยระบุว่า สีแดงใต้ใบของพลูคาวมีสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และต้านทานเนื้องอก พร้อมกับไปขับพิษที่จะเป็นสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย แต่สารนี้อาจจะมีคุณภาพไม่คงทนหรือไม่คงที่ อีกทั้งยังไม่พบรายงานการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านมะเร็งของพลูคาวอย่างเป็นทางการ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ยังต้องมีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนต่อเนื่องต่อไปอีก


          ปัจจุบัน พลูคาวหรือคาวตองได้ถูกนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ชื่อว่า "โดคุดามิ" โดย  บริษัท  โพรแลคประเทศไทย  จำกัด ซึ่งมี นพ.สมทรง รักษ์เผ่า อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรค(กรมควบคุมโรคติดต่อ) และอดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยา (อย.) มีเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง " โดคุดามิ" นี้ได้ถูกส่งออกขายไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมีตลาดใหญ่ ได้แก่ อเมริกา และแอฟริกา 


         สรรพคุณทางเภสัชวิทยาของพลูคาว  คือ สร้างภูมค้มกันกระตุ้นการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวและทำงานได้ดีขึ้น *ทำลายเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงทั่วไป 5 ชนิด ; ปอด, สมอง, เนื้อร้าย, รังไข่, ลำไส้ใหญ่, เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว 5 ชนิด li210, u937, k526, raja, p3 hr 1 *ฆ่าเชื้อไวรัส ชนิด HIV-1, HIV1 ไข้หวัดใหญ่, งูสวัด, หัดเยอรมัน, โดยไม่ทำลายHostCell *ต้านเชื้อรา_กลาก, เกลื้อน, สังคัง, ฮ่องกงฟุต, สะเก็ดเงิน-ทอง, เยื้อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อรา, ปอดอักเสบ *ต้านแบคทีเรีย_โรคท้องร่วง, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, ฝี, โรคระบาดทางระบบสืบพันธ์_ตกขาว *ต้านอักเสบ_หลอดลมอักเสบ, ปอดอักเสบในเด็ก, รูมาตอย, แผลหลังการผ่าตัด, แผลไฟไหม่, น้ำร้อนลวก, หนองใน, ปวดฟัน, *ขับปัสสาวะ




คุณประโยชน์ของพลูคาว
1. ฤทธิ์ระงับปวด เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย

2. ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ ที่แยกได้จากใบพลูคาวเป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์
3. ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V. Parahaemolyticus
4. ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมัน









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น