วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคเก๊าท์ หรือ โรคข้อ โรคแผลกระเพาะอาหาร-ลำไส้เล็ก


โรคเก๊าท์  หรือ โรคข้อ

โรคเกาต์ เป็นโรคที่เกิดจากระดับกรดยูริก ในเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดการอักเสบของข้อเนื่องจากมีการตกผลึกของ เกลือยูริก บริเวณข้อและเอ็นหากเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อผิดรูปและเสียหน้าที่ในการทำงาน ในรายที่เรื้อรังการเกาะของเกลือโมโนโซเดียมยูเรต จะทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า Tophi นอกจากนั้นยังทำให้หน้าที่ของไตเสื่อมและเกิดโรคนิ่วที่ไตด้วย โรคเกาต์จะหมายถึงภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อทำให้เกิดการอักเสบ มีอาการปวด บวมแดงร้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์อาจจะมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเกาต์เสมอไป โรคเกาต์เป็นในผู้ชายมากว่าผู้หญิง 9 เท่าและมักเป็นวัยกลางคนขึ้นไป ส่วนผู้หญิงมักเป็นหลังจากหมดประจำเดือน

อาการ : สาเหตุจากเก๊าท์/ปวดข้อมาก สาเหตุหลังจากกรดยูริคสูงไปเกาะตามข้อให้บวมแข็งเจ็บขยับไม่ได้
ปฏิกิริยาตอบรับ : ปวดและบวมมากขึ้น ฉี่สีเข้มขึ้น ถ้าอาการรุนแรงให้ใช้ร่วมกับยาแก้ปวด หรือยาฉีด
การดูแลสุขภาพ : ทานเนื้อให้น้อยลง และเน้นการทานปลา ผักและผลไม้ให้มากขึ้น งดการดื่มสุราควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี

โรคแผลกระเพาะอาหาร-ลำไส้เล็ก

โรคกระเพาะเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง แต่อุบัติการของโรคนี้ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานจำนวนที่แน่นอน โรคนี้พบได้ประมาณ 10% ของประชากรทั่วไป และพบได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่จะมีอาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง

โรคกระเพาะตามความหมายของแพทย์ หมายถึง แผลที่กระเพาะอาหาร (gastric ulcer) หรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer) ซึ่งมีรายงานจากโรงพยาบาลศิริราชว่าแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นพบมากกว่าแผลที่กระเพาะอาหารประมาณ 2 เท่า

แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นพบบ่อยในวัยหนุ่มสาว โดยอายุเฉลี่ยของผู้เป็นโรคนี้คือ 35 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 4 เท่า ส่วนแผลที่กระเพาะอาหารมักพบในวัยกลางคนขึ้นไป โดยอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคนี้คือ 42 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า

สาเหตุ

แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวของลำไส้เล็กส่วนต้น เกิดเป็นแผลขึ้นมา โรคนี้พบมากในคนที่เคร่งเครียดกับการงาน รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา วิตกกังวล และคิดมาก นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไขข้ออักเสบ ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง และโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจจะเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นได้มาก

แผลที่กระเพาะอาหารเกิดจากความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารเสื่อมลง แต่ไม่มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาการมากกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากยา เช่น แอสไพริน (aspirin) อินโดเมธาซิน (indomethacin) หรือเกิดจากน้ำดีขย้อนจากลำไส้เล็กขึ้นมาที่กระเพาะอาหารก็ได้ นอกจากนี้อาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น โรคปอด โรคไต หรือโรคมะเร็ง

อาการ

แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่จะปวดบริเวณกลางท้อง ค่อนไปทางกระเพาะอาหาร มักจะปวดเป็นพักๆ ร้าวไปรอบเอว อาการปวดท้องจะเกิดขึ้นภายหลังรับประทานอาหาร 2-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง ผู้ป่วยจะปวดท้องในตอนดึก ทำให้นอนไม่หลับ และจะรับประทานอาหารบ่อยๆ ทำให้น้ำหนักร่างกายเพิ่มขึ้น อาการแทรกซ้อนที่พบร่วมด้วยคือ ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโลหิตจาง ขาดเหล็ก และความดันโลหิตต่ำ

แผลที่กระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง และอาจมีเลือดออกในกระเพาะ (สังเกตได้จากอุจจาระที่มีสีคล้ำ) อาการปวดจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร 30-60 นาที และจะปวดอยู่นาน 60-90 นาที ผู้ป่วยจะมีอาการปวดในขณะที่รับประทานอาหาร เนื่องจากอาหารที่รับประทานเข้าไปจะเป็นผลให้เกิดการพองตัวบริเวณที่มีแผลและมีการหลั่งกรดออกมา ทำให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานอาหาร น้ำหนักตัวลดลง ความต้านทานโรคลดลง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะผอมมาก

อาการ : ปวดท้องเวลาหิว หรืออิ่ม เบื่ออาหาร ท้องอืด ลมขึ้นจุกเสียด ร้อนที่หน้าอก
ปฏิกิริยาตอบรับ : กระเพาะอืดแน่น มีลมแน่น ควรทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำพลูคาว ให้สม่ำเสมอ
การดูแลสุขภาพ : งดอาหารรสจัด ทานอาหารให้เป็นเวลา ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ลดภาวะที่จะทำให้เกิดความเครีย พักผ่อนให้เพียงพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น